1. ม้ง บ้านขุนห้วยแม่เปา
1.ข้อมูลทั่วไป
หมู่บ้านอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ม้งบ้านขุนห้วยแม่เปา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ มีอาชีพทางเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนมะม่วง (โชคอนันต์) ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ข้าวโพด และทำนา ทุกปีจะมีพ่อค้ามารับซื้อมะม่วง 4-5 จุดในหมู่บ้าน โดยเข้าโกดังของคนท้องถิ่น พ่อค้าจะมาจากชลบุรี ราชบุรี มารับซื้อแล้วส่งออกไปจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ส่งออกวันละ 6-7 รถสิบล้อ (สิบล้อคันหนึ่งบรรทุก 15 ตัน ) ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม วันที่ 25 พฤษภาคม ของทุกปี จะมีการจัดงานวันมะม่วงในหมู่บ้าน (ปีนี้ (2563) ไม่ได้จัด เพราะสถานการณ์ COVID-19 )
2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านขุนห้วยแม่เปา ตั้งขึ้นประมาณหลังประเทศลาวเปลี่ยนการปกครอง ชาวม้งบางกลุ่มได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย กลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่อาศัยเป็นชาวม้งที่อพยพมาจากประเทศลาวโดยตรง และกลุ่มที่ติดตามมาภายหลังคือ ชาวม้งที่จากจังหวัดแพร่ น่าน เชียงคำ(เล่าอู) ภูชี้ฟ้า (หมู่บ้านนี้จะเป็นญาติกับบ้านจะแล หมู่ 4 ต.ควร และม้ง จ.น่าน พะเยา ลำปาง แพร่ ) ชื่อหมู่บ้านตั้งตามชื่อลำน้ำ ห้วยแม่เปา
สาเหตุที่ชาวม้งเลือกมาบริเวณนี้ เพราะต้องการหาที่ทำกิน มาถึงที่นี่เห็นเป็นป่าดงรกร้าง ไม่มีใครอาศัยอยู่จึงเข้ามาบุกเบิกเป็นที่ทำกิน
เหตุการณ์สำคัญ
– 2515 เริ่มได้สัญชาติไทย
– 2563 เกิดโรคระบาด COVID -19 ปิดหมู่บ้าน 2 เดือน
3. สังคมวัฒนธรรม
3.1 การแต่งกาย
ผู้หญิงม้งจะเย็บ ปัก เสื้อผ้าเอง ตัวเสื้อนิยมผ้ากำมะหยี่สีพื้น เช่น สีดำ น้ำเงิน แดง เขียว น้ำตาล แล้วปักลวดลายเย็บติดขอบแขน และชายเสื้อ หน้าอก ขอบลายปักจะกุ๊นด้วยผ้าสี แต่ละกลุ่มมีรายละเอียดที่แตกต่าง คือ
ม้งลาย เครื่องกายจะคล้ายกับม้งเขียว สังเกตจากเสื้อผู้หญิงบริเวณหน้าอกจะมีรายปักเป็นยอดแหลม 3 ยอด(หรือ 4 ยอด) แต่มีลวดลายมากกว่า กระโปรงก็มีสีสันและลวดลายมากกว่า ลายปักจักรปักแบบครอส ติสหรือปักไขว้กัน
ม้งขาว จะสวมกระโปรงพลีทขาว เสื้อผ่ากลางอก ลายปักจะนิยมเป็นลายผ้าปะแล้วสอยเป็นลายขดเป็นวงๆ
ม้งดำ (หมู่บ้านนี้พบม้งดำจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะพบใน จ.น่าน) เสื้อผู้หญิงม้ง ด้านหลังจะมีแผ่นผ้าคล้ายรูปตัว H ตกแต่งใต้ปกหลัง สมัยก่อนเป็นแผ่นผ้าสีขาว ไม่ปักลวดลาย แต่ปัจจุบันมีการปักลวดลายเต็มแผ่น แผ่นผ้านี้เป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นผู้หญิง คนม้งเรียกว่า “ล่าว” (เหล้า)
ความแตกต่างของหญิงม้งขาวและม้งเขียว ที่เห็นได้ชัดจากเครื่องแต่งกาย ในอดีตเวลาเห็นคนม้งด้วยกันจากเครื่องแต่งกายก็จะบอกได้ถึงแหล่งที่มา(ที่อยู่อาศัย) ว่ามาจากที่ไหน ม้งเชียงใหม่ ม้งตาก จะใส่เสื้อผ่าอกสาบตรง ม้งเชียงรายจะใส่เสื้อลายปักเป็นยอดแหลม 3 ยอด แต่ปัจจุบันใส่ปนกันไปหมดจนยากจะบอกถึงแหล่งที่อยู่อาศัยว่ามาจากจังหวัดอะไร ปัจจุบันมีลายปักด้วยจักรเรียนแบบลายปักม้ง (ปักด้วยมือ) มาขายทั้งจากประเทศจีนและทำในประเทศไทย(เชียงใหม่ เชียงราย) ผ้าจากจีนมีราคาถูกกว่า แต่คนม้งบอกว่าของจีนสวยสู้ของไทยไม่ได้
2. คนเมืองน่าน
คนในชุมชนที่มาจากเมืองน่าน เดินทางโดยนั่งรถ 6 ล้อเก่าโบราณจากจังหวัดน่าน มาลงจังหวัดแพร่ แล้วเดินทางโดยนั่งรถไฟจากจังหวัดแพร่มาลง อําเภอพาน แล้วนั่งรถไฟจาก อําเภอพานไปลง จังหวัด ลําปาง จากนั้นพากันเดินลัดดอยด้วนคือบ้านป่าแงะ ป่าแดด จนมาถึงบ้านปล้อง อําเภอเทิง จังหวัด เชียงราย และบางส่วนเดินทางมากับล้อเกวียนเทียบวัว ควาย มาทางอําเภอดอยหลวง ผ่านอําเภอ เชียงคํา จังหวัดพะเยา อําเภอเทิง (วียงเทิง) จากนั้นเดินทางจากบ้านปล้อง มาตําบลไม้ยา อําเภอ พญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย บรรพบุรุษบางคนที่เดินทางมาถึงตําบลไม้ยา ได้สร้างบ้านพร้อมหาที่ทํา ไร่ ทํานา ไว้ก่อนรอญาติพี่น้องที่จะามมา ส่วนใหญ่คนเมืองน่านที่อพยพมาเพราะ เกิดน้ําท่วมจึงพากันอพยพย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ตําบลไม้ยา
3. ลาวเวียงจันทร์
เดิมบรรพบุรุษ อพยพมาจากทุ่งขมิ้น บ้านทุ่งโฮ้ง และชาวอําเภอเชียงคํา โดยไม่ปรากฏว่าอพยพมา จากถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมตั้งแต่เมื่อใด ปัจจุบันได้ก่อตั้งเป็นชุมชน มีวิถีชีวิต และภาษาถิ่นเป็นของตัวเอง ปัจจุบันใช้ภาพถิ่นในการสื่อสาร
4. ไทลื้อ ตาดควัน
ชาวไทลื้อ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน มีเมืองเชียงรุ่ง ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนาน เป็นศูนย์กลาง ชาวไทลื้อจึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกับจีนมาเป็นเวลายาวนาน ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมามีกลุ่มชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพและถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ทางตอนเหนือของพม่า ตอนเหนือของลาว ตอนเหนือของเวียดนาม และทางภาคเหนือของประเทศไทย ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เมื่อย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามที่ต่าง ๆ แล้ว ชาวไทลื้อก็มีการปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน โดยเฉพาะในส่วนบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แต่เดิมนิยมสร้างเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง หลังคาขนาดใหญ่ลาดเอียงคลุมลงมาจนถึงฝาเรือน ภายในเรือนเป็นโถงกว้างและไม่นิยมทำหน้าต่างมากนักเพราะเป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น เมื่อชาวไทลื้อย้ายถิ่นฐานเข้ามาจึงมีการสร้างเรือนแบบหลังคาสองจั่วตามแบบเรือนไทยวนและมีหน้าต่างเรือนมากขึ้น เพื่อให้ถ่ายเทอากาศ